หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล บ้านป่า ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
   
 
 
   
 
 
เกี่ยวกับตำบล อาณาเขตติดต่อ สภาพทั่วไป ข้อมูลประชากร
 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป่า ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000 ตำบลบ้านป่ามีเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน 37,625 ไร่ หรือ ประมาณ 60.20 ตารางกิโลเมตร ตำบลบ้านป่าอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองพิษณุโลก ประมาณ 20 กิโลเมตร
 
 
 
ตำบลบ้านป่า เดิมมีสภาพเป็นป่าดงดิบ สลับทุ่งหญ้าพื้นที่ราบ
เชิงเขา มีประชากรอยู่เป็นกลุ่มบริเวณบ่อใต้ ต่อมามีชาวบ้านจากเวียงจันทร์ ประเทศลาว ชาวบ้านจากจังหวัดพิจิตรได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานได้ทำการหักล้าง ถางพงบริเวณ บ้านเขาไร่ บ้านแซ่ และบริเวณบ่อใต้ เพื่อประกอบสัมมาอาชีพ เกษตรกรรมทำไร่ ทำนา ทำสวน เพราะเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์เพาะปลูกได้ผลผลิตดี ต่อมาได้มีการอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มมากขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้านทางราชการจึงได้จัดตั้งให้เป็นหมู่บ้าน ตำบล และได้ใช้ชื่อตำบลว่า "ตำบลบ้านป่า" โดยตั้งชื่อตำบลตามสภาพพื้นที่ที่เป็นอยู่เดิม
 
 
 
หมู่ที่ 1 บ้านหนองจอก
หมู่บ้านเริ่มก่อตั้งประมาณในปี พ.ศ.2375 หรือประมาณ 176 ปีมาแล้ว หรือสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเดิมทีหมู่บ้านชื่อ บ้านแหลมรัง กลุ่มคนกลุ่มแรกที่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านคือนายแดง นายบัว นางกล่ำ ยงท้วม และนายรส มาฉิมมี ถิ่นฐานเดิมอยู่ที่บ้านน้ำดำ หมู่ที่ 10 ตำบลดอนทอง บ้านบึงกระดาน ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือผู้ใหญ่รส มาฉิมมี เป็นผู้ใหญ่บ้านในปี พ.ศ. 2375 มีบ้านเรือนประมาณ 100 หลังคาเรือน พื้นที่ในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นป่าต้นรังและมีผู้ใหญ่บ้านดำรงตำแหน่งมาอีก 7 คนดังนี้
 
ผู้ใหญ่ชิต คตเชย
ผู้ใหญ่เวช จันทร์ส่ง
 
ผู้ใหญ่เจ๊ก แดงสว่าง
ผู้ใหญ่แหล้ม ฟูเต็ม
 
ผู้ใหญ่ย่วง รอดบุรี
ผู้ใหญ่เชื่อม มีเมือง
 
ผู้ใหญ่ไสว หมอนทอง    
  ต่อมาเกิดอุทกภัยขึ้นชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ส่วนที่เหลือบางส่วนและมีผู้เข้ามาก่อตั้งใหม่คือ นายประเทือง กลิ่นคำ พื้นเพเดิมอยู่ที่บ้านคลองแค อำเภอพรหมพิราม และได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านคนต่อมาและได้เปลี่ยนชื่อหมู่ บ้านใหม่ว่า บ้านหนองจอก สาเหตุที่ตั้งชื่อนี้เพราะในหมู่บ้านมีดอกจอกขึ้นเป็นจำนวนมาก ตามหนองตามบึง ประกอบกับหมู่บ้านข้างเคียงมีความเจริญขึ้น ชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายออกไปคงเหลือเพียง 28 หลังคาเรือน
  ต่อมาผู้ใหญ่ประเทือง กลิ่นคำ ได้ปลดเกษียณและได้แต่งตั้งผู้ใหญ่คนใหม่ คือผู้ใหญ่แช่ม มีเมือง ดำรงตำแหน่งประมาณ 11 ปี จึงได้ปลดเกษียณและทำการเลือกตั้งผู้ใหญ่คนใหม่ คือ นายสมบัติ บุญประเสริฐ และบุคลากรในหมู่บ้านเพิ่มขึ้นจึงแยกบ้านออกบ้านเรือนราษฎรจึงเพิ่มขึ้นเป็น 34 หลังคาเรือน โดยราษฎรในหมู่บ้านประกอบอาชีพครั้งแรก คือ อาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ข้าวโพด ไร่ถั่ว เลี้ยงสัตว์ ในปัจจุบันก็ยังประกอบอาชีพเดิมอยู่และมีอาชีพใหม่เพิ่มขึ้น คือ ค้าขาย รับจ้าง เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
   
  หมู่ที่ 2 บ้านบึงไทร
  บ้านบึงไทร หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เดิมอพยพมาจากบ้านแซ่ บ้านบึงกระดานมาอยู่ตามหัวไร่ปลายนา บริเวณรอบบึงที่มีต้นไทรใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า “บึงไทร” และได้ก่อตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อ 145 ปีมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 2406 จึงเรียกชื่อตามชื่อบึงว่า “บ้านบึงไทร” ผู้ใหญ่คนแรกชื่อ นายต่อ เสือคง เดิมมีจำนวน 40 ครัวเรือน ปัจจุบัน 168 ครัวเรือน
   
  หมู่ที่ 3 บ้านบึงกระดาน
  ชาวบ้านบึงกระดาน หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านป่า อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก เดิมเล่าสืบต่อกันมาว่า นายเปี่ยม ได้อพยพหนีภัยสงครามมาจากเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.) โดยเดินทางมากับขบวนช้าง เมื่อ 187 ปีมาแล้ว (ประมาณ พ.ศ.2364) เมื่อเดินทางมาถึงพื้นที่บริเวณนี้ ซึ่งเป็นป่าไผ่ ป่ายาง ฯลฯ เรียกป่าดิบดงยัง มีไข้ป่าชุกชุม ไม่มีผู้ใดกล้าเข้ามาอยู่อาศัย เมื่อเห็นว่าบริเวณนี้มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงปักหลักอาศัยอยู่ ภายหลังมีคนอพยพมาอยู่มากขึ้นจากอำเภอใกล้เคียง นำโดยนายมี พันธุ์เพชร นายสุรัตน์ อ๊อดเอก นายผึ่ง เกษมสุข และชาวจังหวัดแพร่ได้อพยพมาอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า ตัดไม้เลื่อยไม้ขายเป็นอาชีพ และได้นำไม้ที่เลื่อยเป็นแผ่น ๆ เรียกว่า “ ไม้กระดาน” ลงแช่ในบึงน้ำขนาดใหญ่เอาไว้ ต่อมาภายหลังน้ำเกิดแห้งขอด ชาวบ้านจึงพบไม้กระดานชาน้ำอยู่มากมาย จึงเรียกบึงน้ำธรรมชาติว่า “ บึงกระดาน” ตั้งแต่นั้นมา เมื่อขอตั้งหมู่บ้านจึงเรียกว่า บ้านบึงกระดาน ตามชื่อของบึงมาจนถึงปัจจุบัน
   
  หมู่ที่ 4 บ้านแหลมประดู่
  เมื่อประมาณ พ.ศ. 2440 มีประชากรที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน จับจองที่ทำมาหากิน และเป็นอยู่อาศัยเพราะสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มโนนสูง น้ำไม่ท่วมขัง อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้เบญจพรรณต้นประดู่เป็นจำนวนมากและมีบึง น้ำขนาดใหญ่ ซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม ต่อมาได้มีประชากรเพิ่มขึ้นจึงได้จัดตั้งหมู่บ้านขึ้นชื่อว่า “บ้านโนนคู่” โดยตั้งชื่อตามสภาพของหมู่บ้านโดยแยกหมู่บ้านมาจากบ้านแซ่ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านป่า และอีกประมาณ 30 ปีต่อมาได้มีการเรียบเรียงหมู่บ้านขึ้นมาใหม่ และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านเป็น “ บ้านแหลมดู่ “ และมีผู้ใหญ่คนแรกชื่อ นายพูล นาคทอง และมีนายบุญ บุญทา และนายรวย ดีอ่ำ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
   
  หมู่ที่ 5 บ้านแซ่
  เมื่อประมาณร้อยกว่าปี ชาวบ้านแซ่ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นกลุ่มชนที่อพยพมาจากเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปปล.) เพราะเกิดภัยสงครามและถูกพม่าไล่ตีมาจึงพากันอพยพหนีมาได้กลุ่ม หนึ่ง จนมาพบที่เนินปาแห่งนี้ ซึ่งเหมาะแก่การสร้างที่พักอาศัยทำกิน อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่า ชาวบ้านจึงประกอบอาชีพล่าสัตว์และทำนา และมีผู้อพยพมาอาศัยอยู่จนเป็นชุมชนขนาดเล็กมีสภาพความเป็นอยู่ ที่เรียบง่าย มีอัธยาศัยดี มีน้ำใจ เอื้ออาทรต่อกันไม่ว่าคนที่อยู่ในชุมชนเดียวกันหรือชุมชนใกล้เคียง ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจกับผู้ที่มาเยือนจนไม่อยากจาก ไปและกลับมาเยือนใหม่ด้วยเหตุนี้เรียกชุมชนนี้ว่า “ บ้านแซ่” ภายหลังออกเสียงเพี้ยนไปเป็น “บ้านแซ่” จนถึงทุกวันนี้ ต่อมาบ้านแซ่เป็นชุมชนขนาดใหญ่มีโรงเรียน วัด และเมื่อมีการสร้างถนน บ้านเรือนทำให้ปิดกั้นทางระบายน้ำเกิดน้ำท่วม ราษฎรจึงได้มีการอพยพไปอาศัยตามหัวไร่ปลายนากลายเป็นชุมชนใหม่บริเวณใกล้เคียงหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านบึงไทร บึงกระดาน บ้านป่า บ้านดอนทอง เป็นต้น และทำให้คนในหมู่บ้านมีน้อยลง ทำให้โรงเรียนถูกยุบไปรวมกับโรงเรียนบ้านบึงกระดานหมู่ที่ 3 ปล่อยให้โรงเรียนบ้านแซ่เป็นอาคารร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
   
  หมู่ที่ 6 บ้านป่า
  บ้านป่าหมู่ที่ 6 ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีสภาพเดิมเป็นป่า ชาวบ้านได้มาหักล้างถางป่า ทำการเกษตรเนื่องจากเป็นพื้นที่ราบลุ่มเมื่อมีฝนตกมาก ๆ น้ำก็จะท่วมทำให้ต้องสร้างบ้านใต้ถุนสูง ๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วม เมื่อแรกที่อพยพมาชาวบ้านประกอบอาชีพหาของป่าขาย ทำนาและเลี้ยงสัตว์ ปัจจุบันอาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้านก็ยังคงประกอบอาชีพทำการเกษตร คือทำนาและเลี้ยงสัตว์ และมีอาชีพต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีก เป็นอาชีพเสริมที่ทำกันมาจนถึงปัจจุบัน คืออาชีพรับจ้างก่อสร้าง หมู่ที่ 6 ตั้งอยู่ในทางทิศทางเหนือของจังหวัดพิษณุโลก มีอาณาเขตด้านทิศเหนือติดกับหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านป่าด้านทิศตะวันออกติดกับ หมู่ที่ 7 ด้านทิศใต้ติดกับหมู่ที่ 2 ตำบลดอนทอง และทิศตะวันตกติดกับหมู่ที่ 2 ตำบลบ้านป่า มีประชากรทั้งหมด 379 คน เป็นชาย 117 คน หญิง 102 คน มีจำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด 126 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ บ้านป่าหมู่ที่ 6 มีวัดจำนวน 1 แห่ง มีโรงเรียน 1 แห่ง บ้านป่าหมู่ที่ 6 ความเจริญมากขึ้น มีไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ มีถนนสายเอเชียตัดผ่านหมู่บ้าน การคมนาคมสะดวกสบายขึ้นและมีแหล่งเศรษฐกิจคือตลาดค้าผลไม้ไทยเจริญ
   
  หมู่ที่ 7 บ้านป่า
  ผู้สูงอายุเล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อประมาณ พ.ศ. 2395 มีประชาชนกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 ครัวเรือนไม่ทราบแน่ชัดว่าอพยพมาจากที่ใด ได้เข้ามาอาศัยโดยประกอบอาชีพทำไร่ เนื่องจากพื้นที่เป็นป่า และได้ร่วมกันขุดบ่อน้ำตื้นขึ้นมาหนึ่งบ่อ ใช้ชื่อว่าบ่อใต้ประชาชนยังใช้น้ำบ่อนี้จนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อประชาชนเริ่มมากขึ้นจึงได้ร่วมกันก่อสร้างวัดขึ้น โดยสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2400 และตั้งชื่อว่าวัดบ้านป่า โดยตั้งชื่อตามภูมิประเทศในขณะนั้น เพราะพื้นที่เป็นป่า มีพระอาจารย์หนูเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาเมื่อประชาชนมากขึ้นก็ได้แบ่งการปกครองโดยแยกเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มที่ 1 เรียกว่าบ้านใต้ คือ หมู่ที่ 6 ในปัจจุบัน กลุ่มที่ 2 เรียกว่าบ้านเหนือ คือหมู่ที่ 7 ในปัจจุบัน กลุ่ม 3 เรียกว่าบ้านไร่ คือหมู่ที่ 8 ในปัจจุบัน โดยมีกำนันชื่อว่านายหลำ นาคธรรมชาติ เป็นกำนันคนแรก ด้านการศึกษาเดิมประชาชนทั้ง 3 หมู่บ้านได้ไปเรียนที่วัดบ้านแซ่ คือ หมู่ที่ 5 ในปัจจุบันต่อมาเมื่อชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้านได้ก่อสร้างวัดขึ้นก็ได้มาเรียนที่วัดบ้านป่าทั้งหมด ปัจจุบันโรงเรียนได้สร้างขึ้นใหม่โดยแยกออกจากวัดแล้ว โรงเรียนและวัดจึงแยกสถานที่กันจนถึงปัจจุบัน
   
  หมู่ที่ 8 บ้านป่า
  ผู้สูงอายุเล่าสืบต่อกันมาว่าเมื่อประมาณ พ.ศ. 2395 มีประชาชนกลุ่มหนึ่งประมาณ 10 ครัวเรือนไม่ทราบแน่ชัดว่าอพยพมาจากที่ใด ได้เข้ามาอาศัยโดยประกอบอาชีพทำไร่ เนื่องจากพื้นที่เป็นป่า และได้ร่วมกันขุดบ่อน้ำตื้นขึ้นมาหนึ่งบ่อ ใช้ชื่อว่าบ่อใต้ประชาชนยังใช้น้ำบ่อนี้จนถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อประชาชนเริ่มมากขึ้นจึงได้ร่วมกันก่อสร้างวัดขึ้น โดยสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2400 และตั้งชื่อว่าวัดบ้านป่า โดยตั้งชื่อตามภูมิประเทศในขณะนั้น เพราะพื้นที่เป็นป่า มีพระอาจารย์หนูเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาเมื่อประชาชนมากขึ้นก็ได้แบ่งการปกครองโดยแยกเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มที่ 1 เรียกว่าบ้านใต้ คือ หมู่ที่ 6 ในปัจจุบัน กลุ่มที่ 2 เรียกว่าบ้านเหนือ คือหมู่ที่ 7 ในปัจจุบัน กลุ่ม 3 เรียกว่าบ้านไร่ คือหมู่ที่ 8 ในปัจจุบัน โดยมีกำนันชื่อว่านายหลำ นาคธรรมชาติ เป็นกำนันคนแรก ด้านการศึกษาเดิมประชาชนทั้ง 3 หมู่บ้านได้ไปเรียนที่วัดบ้านแซ่ คือ หมู่ที่ 5 ในปัจจุบันต่อมาเมื่อชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้านได้ก่อสร้างวัดขึ้นก็ได้มาเรียนที่วัดบ้านป่าทั้งหมด ปัจจุบันโรงเรียนได้สร้างขึ้นใหม่โดยแยกออกจากวัดแล้ว โรงเรียนและวัดจึงแยกสถานที่กันจนถึงปัจจุบัน
   
  หมู่ที่ 9 บ้านเขาไร่
  บ้านเขาไร่หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งมาประมาณ 60-70 กว่าปี
เดิมทีเป็นป่าเป็นเขารกไม่มีผู้คนอยู่อาศัย แต่เป็นเขตพื้นที่ของหมู่ที่ 8 ต่อมามีชาวบ้านอพยพถิ่นภาคกลางส่วนใหญ่
จะมาจากทางพิจิตร เห็นเล่าต่อกันมาว่าชื่อนายปัน มาอยู่แรก ๆมาจับจองทำไร่และอยู่อาศัย และก็มีผู้อพยพมากขึ้นเรื่อย
จึงขอแยกออกจากหมู่ที่ 8 มาเป็นหมู่ที่ 9 และตั้งชื่อบ้านว่า บ้านเขาไร่ สภาพทั่วไปของหมู่ที่ 9
เป็นพื้นที่ราบสูงอยู่ติดกับเขา ส่วนใหญ่ประชากรมีอาชีพทำไร่รองลงมาก็ทำสวนการทำนา
นั้นมีส่วนน้อยสมัยก่อนการสัญจรลำบากประชาชนจะเข้าในหมู่บ้านหรือในเมืองจะต้องเดินทาง
ฝุ่นทางลูกรังปัจจุบันการสัญจรสะดวกขึ้นแต่ต้องมีรถส่วนตัวเพราะไม่มีรถประจำทาง หมู่ที่ 9
มีวัดมีโรงเรียน ประชาชนส่วนใหญ่ปลูกบ้านเรือนตามแนวทางและติดกัน ส่วนมากไม่มีรั้วกันเพราะอยู่กันในกลุ่มญาติยังเป็นสังคมชาวบ้านอยู่
   
  หมู่ที่ 10 บ้านวังยาว
  หมู่บ้านวังยาว หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านป่า อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
มีการเล่าสืบต่อ ๆ กันมาว่าจากเดิมเป็นพื้นที่ของหมู่ที่ 3 แต่เป็นพื้นที่ว่างเปล่าและได้มีนายลำไย และ นางเป๊ะ รอดบุรี
ได้มาสร้างบ้านเป็นหลังแรก ต่อมานายเมี้ยน นางยวง บวบนา , นางพวง เที่ยงเรือง ก็แยกออกมาจากหมู่ที่ 3 อีกต่อมา
ไม่นานประชากรก็เริ่มมากขึ้นและในปี 2508 ได้มีการสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นมาหลังหนึ่ง และมีพระประจำหนึ่งรูป
ชื่อว่าหลวงพ่อเงิน ชาวบ้านและหลวงพ่อเงินได้ไปกรมศาสนาเพื่อที่ขออนุญาตให้เป็นวัด ที่ถูกต้องและในปี 2508
ก็ได้รับอนุญาตจากกรมศาสนาจากเป็นสำนักสงฆ์ให้เป็นวัดวังยาวสามัคคีธรรม และมีการบูรณะอยู่ตลอดเวลา
ต่อมาจึงขอแยกเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้าน เป็นหมู่ที่ 10 ของตำบลบ้านป่าในปี 2533 และได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน
ในครั้งนั้นเป็นครั้งแรกและผู้ ใหญ่บ้านที่รับคัดเลือกเป็นคนแรกคือ นายเผียน ต่อยนึ่ง และนายเผียน
ก็ได้รับการเลือกตั้งมา 2 วาระ และผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 ของหมู่ที่ 10 คือ นายลูกคิด เพียงต่อ
และเป็นผู้ใหญ่บ้านในปัจจุบันที่ทำการบันทึกประวัติหมู่บ้านในเดือนมกราคม 2551
และวัดวังยาวสามัคคีธรรมและปัจจุบันมีการก่อสร้างโบสถ์ 1 หลัง หมู่ที่ 10 ที่วัดวังยาวสามัคคีธรรม
มีวิหารหลวงพ่อหอมที่มีความศักดิ์สิทธิ์ใครที่ได้มากราบไหว้บูชาก็จะได้สิ่งที่หวังสมความปรารถนา
จึงเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านวังยาวและชาวบ้านใกล้เคียง
 
 
 
 
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.ท้อแท้ , ต.ท่างาม และ ต.วัดโบสถ์ อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก
  ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.ดอนทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก  
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.ดอนทอง อ.เมือง จ.พิษณุโลก และ ต.ท่างาม อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก
  ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.มะขามสูง และ ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก  
 
 
 
 
 
 
 
 



 
 
 
 
เป็นที่ราบลุ่มและพื้นที่ราบเชิงเขา
 
 
   
มีลมมรสุมพัดผ่านจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย และแบ่งฤดูกาลออกได้เป็น 3 ฤดู

ฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 32 องศาเซลเซียส

ฤดูฝน จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยประมาณปีละ 1,375 มิลลิเมตร

ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-มกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 19 องศาเซลเซียส
 
 
 
อาชีพของประชากรส่วนใหญ่ทำการเกษตร ตามด้วย การปศุสัตว์ คือ เลี้ยงไก่,เลี้ยงโค,เลี้ยงสุกร และการประมง คือ เลี้ยงปลาในวงบ่อ/กระชัง,เลี้ยงกบ
 
 
 



 
 
 
     
จำนวนประชากรทั้งหมด 5,792 คน แยกเป็น

ชาย  จำนวน 2,825 คน คิดเป็นร้อยละ 48.77

หญิง จำนวน 2,967 คน คิดเป็นร้อยละ 51.23
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 2,528 ครัวเรือน
ความหนาแน่นเฉลี่ย 96.21 คน/ตารางกิโลเมตร
 
 
 
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนประชากร
ชาย หญิง รวม
จำนวน
ครัวเรือน
  1   บ้านหนองจอก 68 58 126 72  
2   บ้านบึงไทร 311 335 646 275
  3   บ้านบึงกระดาน 344 378 722 345  
4   บ้านแหลมประดู่ 118 128 246 96
  5   บ้านแซ่ 236 256 492 205  
6   บ้านป่า 319 335 654 309
  7   บ้านป่า 211 241 452 207  
8   บ้านป่า 559 591 1,150 484
  9   บ้านดง 422 402 824 354  
10   บ้านวังยาว 237 243 480 181
    รวม 2,825 2,967 5,792 2,528
 
ข้อมูล เดือนมกราคม 2565
 
 
 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร : 055-009-515,
061-709-4683
 
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10